ขณะทรงพระเยาว์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๗๕ ตรงกับ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระชนกชื่อน้อย คชวัตร พระชนนีชื่อกิมน้อย คชวัตร ทรงเป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนพี่น้อง ๓ คน เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงมีร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยอยู่เสมอ คราวหนึ่งทรงป่วยหนักจนผู้ใหญ่ถึงกับคิดว่าจะไม่หายและบนว่า ถ้าหายจะให้บวชแก้บน ข้อนี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา พระองค์ทรงมีนิสัยแสดงออกทางพระ ชอบเล่นเป็นพระทำคัมภีร์เทศน์เล็กๆ พัดยศเล็กๆ เล่นทอดกฐิน ผ้าป่า เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ หรือเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ ๒ |
เมื่อครั้งเป็นสามเณร
ท่านน้อย คชวัตร
พระชนก ท่านกิมน้อย คชวัตร
พระชนนี |
ทรงบรรพชาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ จะมีน้าออกบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม ๒ คน พระชนนีและป้าจึงชักชวนให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนเสีย จึงตกลงพระทัยที่จะบรรพชา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีพระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ) เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูอดุลยสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อวัดเหนือ เป็นพระอุปัชฌาย์และพระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ)เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูนิวิฐสมาจาร เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดหนองบัว เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล |
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งเป็นพระเปรียญ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปชญาย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร |
พระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปชฌาย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท |
พระเทพมงคลรังสี (ดี พุทฺธโชติ) พระกรรมวาจารย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท |
พระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสรญาโณ) พระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร |
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) พระพี่เลี้ยงเสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีตามขัตติยราชประเพณี |
เมื่อทรงสอบได้เปรียญชั้นสูงแล้ว ก็ทรงรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งทางวัดและทางคณะสงฆ์ นับแต่ทรงเป็นครูสอนนักธรรมและบาลี และเมื่อมีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์ เป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีสนามหลวง ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีเรื่อยมาจนถึงชั้นประโยค ๙ ต่อจากนั้นได้ทรงรับ ภาระทางการคณะสงฆ์และการพระศาสนา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ
พ.ศ. ๒๔๘๔ | ทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร |
พ.ศ. ๒๔๘๘ | ทรงเป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๔๘๙ | ทรงเป็นเลขานุการ ในองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ สมเด็จวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช |
พ.ศ. ๒๔๙๐ | ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระโศภนคณาภรณ์ ทรงเป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
พ.ศ. ๒๔๙๓ | ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว |
พ.ศ. ๒๔๙๔ | ทรงเป็นกรรมการอำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และเป็นกรรมการแผนกตำราของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ |
พ.ศ. ๒๔๙๕ | ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม และได้เป็นผู้ร่วมในคณะทูตพิเศษที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอัครสาวก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา |
พ.ศ. ๒๔๙๖ | ทรงเป็นกรรมการตรวจชำระคัมภีร์ฎีกา |
พ.ศ. ๒๔๙๗ | ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทถาวร |
พ.ศ. ๒๔๙๘ | ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม |
พ.ศ. ๒๔๙๙ | ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์ |
พ.ศ. ๒๕๐๑ | ทรงเป็นกรรมการคณะธรรมยุต และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.) |
พ.ศ. ๒๕๐๓ | ทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุต |
พ.ศ. ๒๕๐๔ | ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค เป็พระอุปัชฌาย์ และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ |
พ.ศ. ๒๕๐๖ | ทรงเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรก ตามพระราชบัญัญติคณะสงฆ์ พ. ศ. ๒๔๐๕ |
พ.ศ. ๒๕๑๕ | ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์แรกคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดราชสิทธาราม |
พ.ศ. ๒๕๑๗ | ทรงเป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต |
พ.ศ. ๒๕๒๘ | ทรงเป็นรองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎกเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช |
พ.ศ. ๒๕๓๑ | รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต และทรงเป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงถวายพัดยศแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
นำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปถวายสักการะ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมทั้งถวายฎีกาอาราธนาไปเข้ารับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2532 |
การพระศาสนาในต่างประเทศ | ||||||||||||||
เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น จัดให้มีการเทศน์
เป็นภาษาอังกฤษ การสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยพระองค์ทรงเป็น
ผู้ดำเนินการด้วยพระองค์เองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติพระศาสนกิจในต่างประเทศ
อีกหลายคราว คือ
|
ด้านสาธารณุปการ |
นับแต่ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดถึงการก่อสร้างถาวรวัตถุ
อันเป็นสาธารณประโยชน์ในที่อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ถาวรวัตถุที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดบวรนิเวศวิหาร ได้แก่
|
งานพระนิพนธ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งานด้านพระนิพนธ์นั้น ได้ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มาก ทั้งตำราพระธรรมเทศนา ธรรมบรรยาย พุทธประวัติ สารคดีธรรม และธรรมนิพนธ์ต่าง ๆ ประมวลได้ดังนี้
ประเภทตำรา
ประเภททั่วไปได้ทรงเรียบเรียงไว้เป็นจำนวนมาก เช่น การนับถือพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านเลิศล้ำ ๔๕ พรรษาพระพุทธเจ้า บัณฑิตกับโลกธรรม พุทธศาสนากับสังคมไทย และตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร (ภาค ๒) เป็นต้นประเภทพระธรรมเทศนาได้ทรงเรียบเรียงไว้ และพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสต่าง ๆ เช่น พระมงคลวิเสสกถา ปัญจคุณ ๕ กัณฑ์ ทศพลญาณเทศนา ๑๐ กัณฑ์ มงคลเทศนาถึงมงคลคาถาที่ ๖ และโอวาทปาฏิโมกข์เทศนา ๓ กัณฑ์ เป็นต้นประเภทริเริ่มให้มีการรวบรวมและแปลได้ทรงให้รวบรวมพระราชนิพนธ์ และพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ และทรงจัดให้พระภิกษุไทยร่วมกับพระภิกษุชาวต่างประเทศ ช่วยกันแปลหนังสืออันเป็นคู่มือ ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นภาษาอังกฤษหลายเล่ม เช่น นวโกวาท วินัยมุข เล่ม ๑-๒-๓พุทธประวัติ เล่ม ๑-๒-๓ เป็นต้น และนอกจากนี้ ยังได้ทรงริเริ่มให้มีการแปลหนังสือพุทธศาสนาที่สำคัญ ๆ เป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการเผยแผ่ และเป็น คู่มือการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวต่างประเทศด้วย เช่น หนังสือภิกขุปาติโมกข์ อุปสมบทวิธี ทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้นผลงานพระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
|
พระกรณียกิจพิเศษ | ||||
เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น จัดให้มีการเทศน์
เป็นภาษาอังกฤษ การสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยพระองค์ทรงเป็น
ผู้ดำเนินการด้วยพระองค์เองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติพระศาสนกิจในต่างประเทศ
อีกหลายคราว คือ
|
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน |
เกี่ยวกับการพระศาสนาในต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เช่น จัดให้มีการเทศน์
เป็นภาษาอังกฤษ การสอนกรรมฐานแก่ชาวต่างประเทศ และจัดให้มีการสนทนาธรรมแก่ชาวต่างประเทศเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยพระองค์ทรงเป็น
ผู้ดำเนินการด้วยพระองค์เองร่วมกับพระภิกษุไทย และพระภิกษุชาวต่างประเทศที่บวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ ยังได้เสด็จไปปฏิบัติพระศาสนกิจในต่างประเทศ
อีกหลายคราว คือ
|